botulinum toxin กับประโยชน์ทางการแพทย์ ของ ชีวพิษโบทูลินัม

ในปี 1980 หลังจากที่มีการริเริ่มทดลองในสัตว์มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ก็มีการใช้ botulinum toxin กับมนุษย์เป็นครั้งแรก ในการรักษาอาการตาเหล่ (strabismus: crossed eyes) และตาปิดเกร็ง (การกะพริบตาที่ไม่สามารถควบคุมได้: blepharospasm) ต่อมาในปี 1993 ได้มีการใช้ botulinum toxin ในการรักษาอาการหดเกร็งของหูรูดปลายล่างของหลอดอาหาร (achalasia: a spasm of the lower esophageal sphincter) โดย Pasricha และคณะ ต่อมาอีกปีหนึ่ง Bushara และ Park ก็พบว่า botulinum toxin มีความสามารถในการยับยั้งการหลั่งของเหงื่อได้

อาการตาเหล่ และตาปิดเกร็ง

ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 นักจักษุวิทยาตามมาหวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐฯ และแคนาดา เริ่มศึกษาถึงความสามารถในการรักษาอาการอาการตาเหล่ และตาปิดเกร็งของ botulinum toxin จนกระทั่งปี 1985 จึงสามารถระบุขนาดการใช้ และวิธีการฉีดได้ชัดเจน

การรักษาอาการตาเหล่ และตาปิดเกร็งด้วย botulinum toxin หากทำอย่างถูกต้อง จะมีผลข้างเคียงน้อยมากและไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม ผลของการรักษาจะอยู่ได้เพียง 4–6 เดือน

ในปี 1989 บริษัทผู้ผลิต botulinum toxin: Allergan, Inc. (ภายใต้ชื่อ Botox) ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (U.S. FDA) เพื่อผลิต botulinum toxin สำหรับรักษาอาการตาเหล่ ตาปิดเกร็งและอาการเกร็งครึ่งใบหน้าสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 12 ปี

การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

สืบเนื่องจากความสำเร็จในการรักษาอาการตาเหล่ และตาปิดเกร็งนี่เอง ที่ทำให้เกิดการศึกษาความสามารถและขนาดของ botulinum toxin ที่จะใช้รักษาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (spasm) ซึ่งกำลังเริ่มเป็นที่ยอมรับในหลายๆ ประเทศ

upper motor neuron syndrome

ในปัจจุบัน botulinum toxin เป็นสารที่ใช้เยียวยาอาการที่เกิดจาก upper motor neuron syndrome (อาการที่เกิดจากกล้ามเนื้อไม่สามารถคลายตัวได้เต็มที่ เป็นการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้น) เนื่องจากอาการเหล่านี้เกิดจากการหดตัวที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อ คล้ายกับการหดเกร็ง (spasm)

การฉีด botulinum toxin จะทำให้กล้ามเนื้อนั้นหดตัวน้อยลง ทำให้ข้อต่อใช้การได้มากขึ้น กรณีที่น่าสนใจกรณีหนึ่งคือกรณีของชายออสเตรเลียคนหนึ่ง ในปี 2009 ซึ่งต้องอยู่บนรถเข็นเป็นเวลากว่า 20 ปี จนกระทั่งได้รับการรักษาด้วย botulinum toxin จนเดินได้อีกครั้ง

ยับยั้งการเกิดเหงื่อ

การทดลองของ Khalaf Bushara และ David Park ในปี 1993 เกี่ยวกับสมบัติในการยับยั้งการหลั่งเหงื่อของ botulinum toxin นับเป็นการนำสารนี้ไปใช้ในด้านที่ไมม่ได้เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อเป็นครั้งแรก จากการศึกษานี้ ทำให้ botulinum toxin เป็นตัวเลือกหนึ่งในการเยียวยาอาการเหงื่อออกมากเกิน (hyperhidrolysis) โดยเฉพาะบริเวณรักแร้

อื่นๆ

botulinum toxin ยังสามารถใช้รักษาอาการต่างๆ ได้อีก เช่น

  • cervical dystonia
  • ปวดหัวเรื้อรัง (chronic migraine)
  • อาการอื่นๆ ที่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เช่น prostatic dysfunction, asthma ฯลฯ

ใกล้เคียง

ชีวพิษโบทูลินัม ชีววิทยา ชีวิตไม่ต้องเด่น ขอแค่เป็นเทพในเงา ชีวิตไม่ง่ายของนางร้าย LV99 -ฉันคือบอสลับค่ะ ไม่ใช่จอมมาร- ชีววิทยาของความซึมเศร้า ชีวิตเพื่อชาติ รักนี้เพื่อเธอ ชีวิตลูปที่ 7 ของนางร้าย ขอเป็นเจ้าสาวนอนกลิ้งสบายในแดนอดีตศัตรู ชีวิตใหม่ หัวใจไม่ลืมรัก ชีวิตเพื่อฆ่า หัวใจเพื่อเธอ ชีวิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชีวพิษโบทูลินัม http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/concen/ca... http://www.iagram.com/diagrams/botox.html http://www.newsweek.com/id/131749 http://microbewiki.kenyon.edu/index.php/Clostridiu... http://www.cdc.gov/botulism/botulism_faq.htm http://www.fda.gov/fdac/features/095_bot.html http://botdb.abcc.ncifcrf.gov http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC313034... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15907915 http://www.who.int/csr/delibepidemics/clostridiumb...